AIS อุ่นใจไซเบอร์ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA เดินหน้าต่อยอดจัดกิจกรรม สร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์ (1212 ETDA)
“รู้ทันเกมโกง หยุดกลคนลวง” จังหวัดร้อยเอ็ด
กลับมาอีกครั้งกับ กิจกรรม “สร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์ (1212 ETDA)” โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA AIS อุ่นใจไซเบอร์ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่มาร่วมเสวนา เพื่อสร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์ พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันโลก หลังจากเมื่อปี 2566 ที่ผ่าน ได้รับความสนใจและการตอบรับที่ดีจากทุกภาคส่วน ในทุกภูมิภาค มาในครั้งนี้ต่อยอดกิจกรรม เพื่อให้ “รู้ทันเกมโกง หยุดกลคนลวง”
สำหรับในปีนี้ AIS อุ่นใจไซเบอร์ โดย นายโชติวัฒน์ อุ่นพิกุล หัวหน้างานปฏิบัติการด้านเทคนิค-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ AIS ร่วมเสวนา ในหัวข้อ ““จับเข่าคุย คุ้ยไต๋สแกมเมอร์” เริ่มที่แรกในอีสาน จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้ถือเป็นภารกิจเป็นความตั้งใจของ AIS ที่จะร่วมสร้างสังคมดิจิทัลให้ดีและปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยการนำโดยมี 2 แกนหลัก ได้แก่
นำเทคโนโลยี (Technology) มาพัฒนาเพื่อสร้างเครื่องมือในรูปแบบของบริการดิจิทัลที่ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นAIS Secure Net, Google Family Link และ สายด่วนโทรฟรี 1185 – AIS Spam Report Center ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ ตลอด 24 ชั่วโมง
การสร้างองค์ความรู้ (Wisdom) เพื่อส่งเสริมและสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทัน พร้อมอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผ่านหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” ที่เราทำมาอย่าง โดยขณะนี้มีคุณครู นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และพนักงานหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนจากทั่วประเทศ ร่วมพัฒนาทักษะทางดิจิทัล Online Learning Platform ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ไปแล้วกว่า 326,000 คน และจากการทำงานเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราเห็นแนวทางแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการพัฒนาดัชนีชี้วัดที่จะบ่งบอกถึงระดับความรู้และทักษะดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่ชัดเจนของประชาชนในแต่ละกลุ่ม ในชื่อของ ‘ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)’ ที่ถือเป็นฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้ภาพรวมของคนไทย มีทักษะทางด้านดิจิทัล อยู่ที่ระดับพื้นฐาน หรือ Basic โดยมีคะแนนอยู่ที่ 0.51จากคะแนนเต็ม 1
“นายโชติวัฒน์” กล่าวทิ้งท้าย สำหรับประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ สามารถสร้างภูมิและเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ง่ายๆ กับหลักสูตร AIS อุ่นใจไซเบอร์ ฟรี ผ่าน https://learndiaunjaicyber.co.th/ หรือ Application AIS อุ่นใจ Cyber ทั้งระบบ android และ iOS
สำหรับผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ได้ที่ sustainability.ais.co.th/storage/update/report/advanc-ebook-thailand-cyber-wellness-th.pdf หรือองค์กรใดสนใจนำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล (Thailand Cyber Wellness Index) ไปใช้วัดผลและขับเคลื่อนต่อ สามารถติดต่อได้ที่ aissustainability@ais.co.th